ทำความรู้จัก Microniche Marketing กลยุทธ์การตลาดที่เหมาะกับธุรกิจ Startup

การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ และเดินหน้าต่อไปได้ไกล จำเป็นต้องอาศัยกลยุทธ์ทางการตลาดที่เข้ากับรูปแบบธุรกิจ และจะต้องเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้สินค้า/บริการสามารถเข้าไปอยู่ในใจกลุ่มลูกค้าได้ด้วย

วันนี้ TED Fund จึงอยากแนะนำอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่จะช่วยให้ Startup หรือธุรกิจใหม่ๆ สามารถแข่งขันกับธุรกิจประเภทเดียวกันในตลาดได้ นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มโอกาสในการขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มอื่นๆ ได้อีกในอนาคต

‘Micro, Macro, Niche’ กลุ่มลูกค้าที่มีอยู่ในตลาด

ก่อนอื่นเรามาทบทวนคำศัพท์ทางการตลาดในการแบ่งกลุ่มลูกค้ากันก่อน เพื่อให้ทุกคนได้เห็นภาพรวมของกลุ่มลูกค้าในตลาด ก่อนจะเลือกว่าเราจะพาธุรกิจของตัวเองไปผูกกับลูกค้ากลุ่มไหนดี

  • Micro : ลูกค้ากลุ่มเล็กที่มีความต้องการเฉพาะบุคคล เช่น ร้านรับตัดรองเท้าตามไซส์
  • Macro : ลูกค้ากลุ่มใหญ่ สามารถทำการตลาดแบบ Mass Marketing ได้ เช่น สินค้าน้ำดื่ม เป็นต้น
  • Niche : กลุ่มลูกค้าที่มีต้องการค่อนข้างเฉพาะเจาะจง เช่น คนชอบปีนผา จะมองหารองเท้าสำหรับปีนผา

เจ้าของธุรกิจจะวางแผนเลือกจับลูกค้า 1 ใน 3 กลุ่มนี้ก็ได้ หรือจะเอามาผสมกันก็ได้เช่นกัน โดยวันนี้ TED Fund ก็มีคำแนะนำพิเศษสำหรับชาว Startup ให้เลือกผสมเป็น Microniche ซึ่งจะเป็นลูกค้ากลุ่มไหน และเราจะวางกลยุทธ์กับคนกลุ่มนี้อย่างไรได้บ้าง ไปติดตามกันต่อเลย

‘Microniche’ กลุ่มลูกค้าที่เหมาะกับธุรกิจ Startup

Microniche คือ ลูกค้ากลุ่มเล็กที่มีความต้องการเฉพาะเจาะจง ไม่ว่าสินค้านั้นจะมีราคาสูงแค่ไหน ลูกค้ากลุ่มนี้ก็เต็มใจที่จะจ่าย เพื่อให้ได้สินค้า/บริการนั้นมาใช้งาน ฉะนั้น ถ้าจะบอกว่าธุรกิจ Startup เหมาะกับลูกค้ากลุ่มไหนมากที่สุด ก็คงต้องตอบว่า Micriniche Marketing เนื่องจากเป็นธุรกิจที่สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นกับคนกลุ่มหนึ่ง จึงมีการแข่งขันไม่สูงมาก และเป็นธุรกิจที่ถ้าได้ใจลูกค้าไปแล้ว ก็จะได้กำไรตามมาด้วย

3 กลยุทธ์ที่น่าใช้กับลูกค้ากลุ่ม Microniche

  • การตลาดที่ดึง Pain Point ของลูกค้าขึ้นมาสื่อสาร : หากธุรกิจของเรามีการสื่อสารออกไปในลักษณะที่เข้าอกเข้าใจลูกค้า และมีสิ่งที่ตอบโจทย์ความต้องการของเขาได้จริงๆ นอกจากจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของการโฆษณาได้แล้ว ยังช่วยให้ลูกค้ากลุ่มนี้มี Loyalty ในใจอีกด้วย
  • การตลาดแบบซื้อใจลูกค้าด้วยการกระทำและคำพูด : กลยุทธ์นี้เป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายๆ แต่ช่วยสร้างความประทับใจได้มาก ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ เช่น มีลูกค้าคนหนึ่งเป็นลูกค้าประจำของร้านกาแฟร้านหนึ่ง ไปกี่ครั้งก็จะสั่งเมนูเดิม ถ้าพนักงานจำลูกค้าคนนี้ได้ ให้ถามลูกค้าไปเลยว่า ‘เมนูเดิมใช่ไหมครับ/คะ’ การบริการที่ดีก็จะช่วยมัดใจลูกค้าไม่ให้ไปซื้อกาแฟร้านอื่นอีกในอนาคต
  • การตลาดแบบเน้นบริการหลังการขาย : นอกจากเราจะสามารถใส่ใจลูกค้าด้วยคำพูดหรือการกระทำเล็กๆ น้อยๆ แล้ว การมอบสิ่งพิเศษให้ลูกค้าหลังปิดจบการขายได้ ก็ถือเป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กัน อาจจะเป็นเพียงการมอบการ์ดที่เขียนคำขอบคุณ หรือของแถมเล็กๆ น้อยๆ ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่เลย

Facebook และ Amazon ก็เคยใช้กลยุทธ์ Microniche เหมือนกัน

รู้ไหมว่าก่อนหน้าที่ Facebook และ Amazon จะกลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่างทุกวันนี้ ทั้ง 2 บริษัทนี้ก็เคยเจอกลุ่มลูกค้า Microniche มาก่อนเช่นกัน โดย Facebook เลือกเจาะกลุ่มนักศึกษาเป็นผู้ใช้กลุ่มแรก และเน้นทำการตลาดในมหาวิทยาลัยชื่อดังของอเมริกา จนค่อยๆ ได้ใจลูกค้ากลุ่มนี้มากขึ้นเรื่อยๆ Facebook จึงขยายกลุ่มเป้าหมาย จนค่อยๆ เติบโตเป็น Social Media ที่มีผู้ใช้งานสูงราว 3,000 ล้านบัญชีทั่วโลก

ส่วน Amazon ก็เคยเลือกกลุ่มลูกค้าคนชอบอ่านหนังสือหายาก มาเป็นลูกค้ากลุ่มแรก เพราะลูกค้ากลุ่มนี้จะตามหาหนังสือที่ไม่มีการพิมพ์จำหน่ายแล้ว และยินดีจ่ายเงินเพื่อให้ได้หนังสือเล่มนั้นมาครอบครอง จนปัจจุบัน Amazon กลายเป็นร้านค้าปลีกที่มีสินค้ามากที่สุดในโลก และมีกลุ่มลูกค้าที่ใหญ่ขึ้นตามการเติบโตของบริษัท

นี่ก็คือเรื่องราวเกี่ยวกับ Microniche Marketing ที่ TED Fund เห็นว่าเป็นประโยชน์กับชาว Startup รุ่นใหม่ และชาว TED Club ทุกคน ในการนำไปใช้กับแผนธุรกิจของตนเอง เพื่อให้สามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น และหากตอนนี้ใครมีไอเดียธุรกิจเจ๋งๆ พร้อมกับนวัตกรรมใหม่ๆ แต่ขาดความรู้ในการทำธุรกิจ TED Fund ก็พร้อมสนับสนุนทั้งเงินทุนและองค์ความรู้ เพื่อผลักดันให้ฝันของคนรุ่นใหม่เป็นจริงได้

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.smethailandclub.com/startup-digitalmarketing/8052.html

https://digimusketeers.co.th/blogs/online-marketing/microniche-marketing

Share on twitter
Share on linkedin